ความรู้เรื่องการทำประกันภัยชีวิตเมื่อกู้ขอสินเชื่อกับธนาคาร

เดี๋ยวนี้ คุณคงคุ้นกับคำว่า บ้านหลังแรก เพราะเป็นนโยบายของทางรัฐบาล การมีบ้านหลังแรกเป็นสิ่งที่หลายๆคนฝันไว้ ขึ้นชื่อว่าบ้านหลังแรกแสดงว่ายังไม่มีประสบการณ์ หากมีเงินสดเพียงพอก็ควักเงินสดซื้อบ้านกันไปเลย แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศไทยยังไม่รวยเพียงพอที่จะซื้อบ้านด้วยเงินสด จึงนิยมยื่นกู้ขอสินเชื่อกับทางธนาคาร ด้วยความไม่มีประสบการณ์นี้เองจึงเกิดปัญหาขึ้น เมื่อธนาคารบอกว่า ต้องทำประกันชีวิตด้วย ไม่อย่างนั้นไม่อนุมัติสินเชื่อ ทำไงดีหล่ะที่นี้ เพราะเบี้ยประกันชีวิตในวงเงินทุนประกันหลายล้าน เบี้ยก็หลายหมื่นอยู่นะ

รายได้ของธนาคาร
รายได้ของธนาคารมาจากหลายช่องทาง อีกช่องทางที่สำคัญก็คือดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อ คุณลองคิดเล่นๆว่าหากธนาคารมีนโยบายไม่ปล่อยสินเชื่อ นั้นหมายถึงธนาคารจะขาดรายได้จำนวนมาก แต่ธนาคารมีรายจ่ายต่างๆ ทั้งเงินเดือนที่ปรึกษา เงินเดือนพนักงานต่างๆ ค่าใช้จ่ายระบบรักษาความปลอดภัย ฯลฯ

ทำประกันภัยชีวิตกับธนาคารแล้วได้อะไร
หากไม่นับรวมประโยชน์จากการทำประกันชีวิตแล้ว ในบางธนาคารอาจเสนอเงื่อนไขพิเศษ ในการลดดอกเบี้ยปีแรกลง ประมาณ 0.25% – 0.5% หากคุณตัดสินใจทำประกันชีวิตกับทางธนาคาร ส่วนปีต่อไปก็ตามเงื่อนไขลูกค้าทั่วไป หากคุณตัดสินใจทำประกันชีวิตต้องแจ้งกับทางธนาคารพร้อมวันที่ยื่นเรื่อง(ยื่นเอกสาร)เลย เพราะทางธนาคารจะระบุอัตราดอกเบี้ยพิเศษในสัญญา แต่หากธนาคารอนุมัติสินเชื่อออกมาแล้วนั้นหมายถึงสัญญาต่างๆเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การทำประกันชีวิตกับทางธนาคารก็จะไม่มีผลใดๆทั้งสิ้น กับการได้ลดอัตราดอกเบี้ย และคุณไม่ต้องรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณธนาคารนะครับ เพราะธนาคารไม่ได้ให้เงินคุณมาใช้ฟรีๆ ทุกอย่างคือธุรกิจ ธนาคารต้องขอขอบคุณ คุณต่างหากเพราะได้นำเงิน(ดอกเบี้ย)มาให้กับธนาคาร

ทุกวันนี้ธุรกิจธนาคารมีการแข่งขันกันสูง ประโยชน์ก็ตกอยู่กับผู้บริโภคก็คือพวกเรานั้นเอง เพราะฉะนั้นการขอสินเชื่อ กับ การบังคับทำประกันจึงไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ก็ยังมีพนักงานของธนาคารบางท่าน (ย้ำ) พนักงานของธนาคารบางท่านเท่านั้น ที่บิดเบือนขอเท็จจริงนี้บังคับให้ลูกค้าที่มาขอกู้เงินต้องทำประกันชีวิตกับทางธนาคาร หากไม่ทำก็จะไม่อนุมัติการกู้เงิน ผู้เขียนขอบอกว่า ไม่มีกฎหมายข้อไหนบังคับให้ผู้กู้ต้องทำประกันชีวิต หากไม่ทำ ไม่อนุมัติการกู้

 

 

This entry was posted in ประกันภัย and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.