การพิจารณาสินเชื่อของธนาคาร

สินเชิ่อส่วนบุคคล

การขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคารในปัจจุบันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับหลายๆคน เพราะในอดีตมีคำกล่าวขานไว้ว่ากว่า 50% ของการขอสินเชื่อนั้นถูกปฏิเสธ ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันอาจจะทำให้โอกาสปฏิเสธนั้นสูงขึ้นไปถึง 70% ได้ทีเดียว

ฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ธนาคารจะตรวจสอบและพิจารณาคุณเมื่อคุณขออนุมัติสินเชื่อกัน

นอกจากแผนงานที่มีระบบระเบียบและชัดเจนแล้วนั้น ธนาคารยังพิจารณาถึงสิ่งต่างๆเหล่านี้อีกด้วย

1. statement ทางการเงินที่

การมีกระแสเงินหมุนเวียนในบัญชีอยู่ตลอดอย่างสม่ำเสมอ ไม่เบิกจ่ายเงินในบัญชีในปริมาณมากระดับเกือบหมดบัญชี จะทำให้ธนาคารให้เครดิตต่อคุณมากขึ้น

2. เครดิตหรือความน่าเชื่อถือ

ความน่าเชื่อถือในวงการธุรกิจและการเงินเป็นที่สำคัญมากๆ ต้องมีวินัยทางการเงินที่เข็มงวดเพื่อมีความน่าเชื่อถือต่อธนาคาร

3. ประวัติเช็คคืน

เช็คคืนหรือเช็คเด้งนั้นจะทำให้คุณสูญเสียความน่าเชื่อถืออย่างมากต่อธนาคารได้

4. ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจที่คุณดำเนินการอยู่

จงนำเสนอข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาต่อธนาคารเพราะธนาคารสามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้ แม้ว่าคุณจะตกแต่งบัญชีก็ตาม

5. เอกสารทางการค้า

บัญชีซื้อ บัญชีขาย สำเนาใบกำกับภาษี ใบสั่งซื้อ ใบเสร็จรับเงิน และอื่นๆที่เป็นเอกสารทางการค้าที่สำคัญทางธนาคารจะเรียกดูเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

6. หลักประกัน

ตัวสถานประกอบการ ที่ดินต่างๆ สิ่งก่อสร้างหรือเครื่องจักรต่างๆที่มีในครอบครอง จะช่วยเพิ่มโอกาสและจำนวนเงินที่จะได้รับการอนุมัติตามความต้องการซื้อในตลาดในกรณีที่เกิดปัญหาหรือเกิดการบังคับจำนองจากธนาคาร

แต่หากไม่มีหลักประกันใดๆ คุณก็ยังสามารถขอสินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อประกอบธุรกิจได้ แต่คุณสมบัติของผู้ขอกู้นั้นจะสูงกว่าในเรื่องประสบการณ์และสภาพคล่องของบัญชีการเงิน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าด้วย

7. ประเมินความสามารถในการชำระหนี้

ธนาคารจะประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของคุณเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติเงินสินเชื่อ เนื่องจากธนาคารจะพิจารณาถึงดอกเบี้ยที่จะได้กลับคืนมาเป็นรายได้ของธนาคารต่อไป หากคุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดี คุณมีโอกาสค่อนข้างมากที่ธนาคารจะปฏิเสธการอนุมัติสินเชื่อ

8. ความพร้อมของเอกสารที่นำไปธนาคารประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

จัดทำเอกสารหลักฐานต่างๆที่จำเป็นต่อการยื่นขออนุมัติสินเชื่อให้พร้อม รวมทั้งประเมินแผนการทางการเงินเสนอต่อธนาคารด้วยว่าคุณกู้ยืมเงินไปแล้วจะนำไปทำอะไร จำนวนเท่าไหร่

This entry was posted in Uncategorized. Bookmark the permalink.

Comments are closed.